คอร์ส ม.3 เทอม 1

+เอกสารการเรียน pdf
+ดูได้ไม่มีหมดอายุ
+++++รายละเอียดคณิตพื้นฐาน+++++

1.พื้นที่ผิวและปริมาตร
2.กราฟ
3.ระบบสมการเชิงเส้น
4.ความคล้าย
+++++รายละเอียดคณิตเพิ่มเติม+++++
5.กรณฑ์ที่สอง
6.การแยกตัวประกอบพหุนาม
7.สมการกำลังสอง
8.พาราโบลา

  • บทที่ 1 พื้นที่ผิวและปริมาตร

    การหาพื้นที่ผิวและปริมาตร นักเรียนต้องใช้ความรู้เรื่องพีทาโกรัสมาใช้ในการทำโจทย์ บทนี้เริ่มแรกต้องวาดรูปก่อนทุกครั้งแล้วเขียนความยาวด้านลงไปในรูป ในส่วนของพื้นที่ผิวอาจจะต้องมีการคิดแบบแยกส่วน หรือนำพื้นที่มาลบกัน ส่วนเรื่องการหาปริมาตร สูตรต่างๆจะมีลักษณะที่คล้ายๆกัน จับหลักให้ได้จะได้ไม่ต้องจำทุกสูตร

  • บทที่ 2 กราฟ
    บทนี้นักเรียนต้องทำความเข้าใจเรื่องการอ่านกราฟรูปแบต่างๆ โจทย์มักจะชอบถามหาความสัมพันธ์ของข้อมูลระหว่างแกน x และ โดยเราจะใช้กราฟเป็นตัวเชื่อมเพื่อหาความสัมพันธ์ การวาดจะวาดเฉพาะกราฟเส้นตรง สิ่งที่นักเรียนต้องจำคือ รูปฟอร์มของสมการเส้นตรง ซึ่งมี 2 ฟอร์ม คือฟอร์มทั่วไปและฟอร์มมาตรฐาน
  • บทที่ 3 ระบบสมการเชิงเส้น
    บทนี้ต้องใช้พื้นฐานมาวาดกราฟเพื่อหาคำตอบของระบบสมการ ส่วนที่สำคัญคือการแก้ปัญหาระบบสมการเชิงเส้นตรงนี้ต้องทำให้ได้เพราะข้อสอบชอบมากๆ ตรงนี้ต้องเข้าใจหลักการจะใช้การกำจัดตัวแปรหรือแทนค่าก็ได้ ค่อยๆทำ คิดอย่างเป็นระบบ ส่วนที่จะเป็นปัญหาสำหรับนักเรียนทุกคน คือ การแก้โจทย์ปัญหา หลักๆแล้วคือการสมมุติตัวแปร พยายามจับหลักการแก้โจทย์ปัญหาแต่ละแบบให้ได้
  • บทที่ 4 ความคล้าย

    เรื่องที่ต้องทำให้ได้หลักๆ ของบทนี้ก็คือ หามุมที่สมนัยกัน หาด้านที่สมนัยกัน หาอัตราส่วนของด้านที่สมนัยกัน ในบทนี้ต้องอาศัยความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเรขาคณิตด้วย โจทย์โดยทั่วไปมักจะให้เราหาด้านและมุมที่ต้องการ ไม่ยากเลยนะ แต่มีสิ่งที่ควรระวังคือ อย่าดูมุมผิด ดูด้านผิด 

  • บทที่ 5 กรณฑ์ที่สอง

    บทนี้ถือว่าเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการเรียนต่อชั้น ม.ปลาย นักเรียนควรทำความเข้าใจความหมายให้ดี นักเรียนต้องกลับไปทบทวนเรื่องการแยกตัวประกอบ และเรื่องที่สำคัญที่ต้องทบทวนคือเลขยกกำลัง เนื้อหาช่วงแรกจะไม่ยาก อาศัยการคิดเลขให้คล่องๆหน่อย ส่วนหลังๆ จะยากหน่อย เพราะต้องชำนาญการจับกลุ่มในการคิดเลข มามองรูปแบบของแนวโจทย์ให้ออก ทำบ่อยๆ แล้วจะจำได้เอง

  • บทที่ 6 การแยกตัวประกอบพหุนาม
    เป็นบทสำคัญที่ควรฝึกให้ชำนาญ เพราะความรู้ในเรื่องการแยกตัวประกอบยังต้องนำไปใช้ในการทำโจทย์บทอื่นๆ เช่น เรื่องสมการกำลังสอง เรื่องกรณฑ์ เรื่องที่สำคัญของบทนี้คือเรื่องการแยกตัวประกอบโดยใช้กำลังสองสมบูรณ์ นักเรียนต้องจับหลักให้แม่น อีกส่วนก็คือ การแยกตัวประกอบโดยใช้ทฤษฎีบทเศษเหลือ โจทย์ชอบออกมากๆ ขั้นต้องการทำจะมีหลายขั้นตอน ถ้าทำถูกทุกอย่างจะลงตัว
  • บทที่ 7 สมการกำลังสอง

    บทนี้เป็นบทต่อเนื่องมาจากการแยกตัวประกอบพหุนามดีกรีสอง เพราะเราจะใช้พื้นฐานการแยกตัวประกอบ มาจัดรูปพหุนามให้เป็นวงเล็บสองวงเล็บที่คูณกัน ส่วนถัดมาจะเป็นการใช้สูตรในการแก้สมการ การแก้โจทย์ปัญหา สิ่งแรกที่ต้องทำของการแก้โจทย์ปัญหาคือการสมมุติตัวแปร โดยปกติแล้วตัวแปรจะคือ สิ่งที่โจทย์ถามหา โจทย์ปัญหามีรูปแบบที่หลากหลาย นักเรียนควรฝึกทำและทบทวนให้ครบทุกแนว

  • บทที่ 8 พาราโบลา
    การวาดกราฟนักเรียนต้องฝึกวาดบ่อยๆนะครับ อีกส่วนหนึ่งคือรูปแบบของสมการนักเรียนต้องหาส่วนประกอบต่างๆ ของพาราโบลาจากสมการให้ได้ ส่วนนี้อาจจะต้องจำเล็กน้อย แต่ถ้าลงมือทำบ่อยจะจำได้เอง นักเรียนต้องฝึกความชำนาญในการที่จะเปลี่ยนจากรูปกราฟเป็นสมการ เปลี่ยนจากสมการเป็นรูปกราฟเพราะเกือบทั้งเรื่องจะเปลี่ยนกลับไปกลับมากันตลอด